วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ปตท.-บางจากปรับลดราคาน้ำมันกลุ่มดีเซล 40 สต./ลิตร มีผลพรุ่งนี้


บมจ. ปตท. (PTT) , บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP) ประกาศปรับลดราคาน้ำมันกลุ่มดีเซลลง 40 สตางค์ โดยมีผลในวันพรุ่งนี้(15 ก.พ. 52) แต่ยังคงตรึงราคากลุ่มน้ำมันเบนซินต่อไป

แหล่งที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ปตท.สผ.-ดอยซ์แบงก์ ลงนามในสัญญา Receivables Purchase Facility


เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และนาย ริชาร์ด ยาเซนดา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฎิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ธนาคารดอยซ์แบงก์ ได้ลงนามในสัญญา Receivables Purchase Facility โดยมีนายมารุต มฤคทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. และ นายสุรนิตย์ สรสุชาติ ผู้อำนวยการสายกำกับการปฏิบัติงาน ธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นพยาน สัญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สำหรับการขายลดลูกหนี้การค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินสดของ ปตท.สผ. โดยแปลงลูกหนี้การค้าซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของ ปตท.สผ. ให้เป็นเงินสด เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกิจการของ ปตท.สผ. ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา : www.ThaiPR.net

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


จากแหล่งพลังงานธรรมชาติสู่แผ่นฟิล์ม...........


There Will We Blood : ศรัทธาฝังเลือด : ภาพยนตร์ตำนานการล่าฝัน

เรื่องย่อ

ภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องราวของตำนานการล่าฝันสู่ความร่ำรวยของชาวอเมริกันเสรีชน ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งอันเกี่ยวข้องกับแรงศรัทธาของชุมชน ความเห็นแก่ได้ การลุ่มหลงในอำนาจ และการคอร์รัปชั่น แม้กระทั่งคุณค่าของครอบครัวก็แทบจะไม่มีความหมาย และพร้อมที่จะถูกทำลายเมื่ออำนาจมืด และความคิดที่เลวร้ายเข้าครอบครองจิตใจคน “ศรัทธาฝังเลือด” เป็นภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในยุคที่ธุรกิจน้ำมันเริ่มเฟื่องฟู บริเวณชายแดนฝั่งตะวันตกของสหรัฐ ในช่วงย่างเข้าศตวรรษที่ 20 เรื่องราวของ ดาเนียล เพลนวิว (แดเนียล เดย์-ลูอิส) ชายผู้พลิกพันชีวิตตนเองจากการเป็นแค่คนงานเหมืองแร่ที่ยากจน สู่การเป็นผู้ค้าน้ำมันอิสระที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพล เพลนวิวพร้อมลูกชายออกเดินทางเพื่อล่าหาแหล่งน้ำมันดิบแห่งใหม่ทันทีเมื่อแว่วข่าวมาว่า แถวเมืองบริเวณชายแดนเขตฝั่งตะวันตกมีน้ำมันดิบซึมขึ้นมาบนดินเป็นจำนวนมาก สิ่งที่เค้าค้นพบเมื่อไปถึงคือเมืองดังกล่าวนั้นเป็นดินแดนที่แห้งแล้งกันดาร จนแทบจะไม่สามารถให้ผลผลิตใดๆได้เลย สิ่งเดียวอาจนับได้ว่าน่าตื่นเต้นของเมืองก็เห็นจะเป็นโบสถ์ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนในเมืองโดยนักเทศน์คนสำคัญ อีไล ซันเดย์ (พอล ดาโน) เพลนวิวและลูกชายสามารถทำเงินได้มหาศาลจากการค้าน้ำมันดิบ ความโชคดีและมั่งคั่งของเพลนวิวได้เปลี่ยนเมืองนี้ไปโดยสิ้นเชิง ความขัดแย้งค่อยๆก่อตัวทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที อารมณ์อันหลากหลายของคนในชุมชนเล็กๆแห่งนี้ ทั้งความรัก โลภ งมงาย ทะเยอทะยาน แม้แต่ความสัมพันธ์ของเพลนวิวและลูกชายก็ตกอยู่ในภาวะอันตรายจากการคอร์รัปชั่น การหลอกลวง และมูลค่ามหาศาลของน้ำมันดิบนั่นเอง


วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เทคนิคการเจาะหลุมปิโตรเลียม

ผลที่ได้จากการสำรวจธรณีฟิสิกส์ คือ โครงสร้างที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ในการเจาะสำรวจขั้นแรก เป็นการเจาะสำรวจเพื่อหาข้อมูลธรณี การลำดับชั้นหิน ยืนยันโครงสร้างธรณี และพิสูจน์ว่ามีปิโตรเลียมภายในโครงสร้างนั้นหรือไม่ ถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีปิโตรเลียม จะมีการเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแหล่ง และคุณภาพปิโตรเลียมไปพร้อมๆกัน เช่น อายุของชั้นกักเก็บ ชนิดของหิน ความพรุน และคุณสมบัติของหินที่ยอมให้ของไหลไหลผ่านช่องว่างที่ติดต่อกันภายในชั้นหินได้ (Permeability) ตลอดจนชนิดและคุณภาพของปิโตรเลียมที่พบ เมื่อพบปิโตรเลียมในหลุมแรกที่เจาะแล้ว จะมีการเจาะสำรวจเพิ่มเติมเพื่อหาข้อมูลในรายละเอียด เช่น ขอบเขตที่แน่นอนของแหล่ง ปริมาณการไหลของปิโตรเลียม เรียกขั้นตอนนี้ว่า การเจาะขั้นประเมินผล ผลการเจาะประเมินผลนี้ จะทำให้ทราบถึงปริมาณสำรองปิโตรเลียมของแหล่งกักเก็บนั้น หลังจากนั้นบริษัทผู้ประกอบการจะทำการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของแหล่ง เพื่อตัดสินใจว่าจะลงทุนทำการผลิตต่อไปหรือไม่ ซึ่งจะต้องเจาะหลุมเพื่อการผลิต เรียก หลุมผลิต หรือหลุมพัฒนา (Development Well) ต่อไป สำหรับทิศทางของหลุมเจาะมีทั้งเป็นแบบหลุมตรง (Straight Well) ซึ่งมักเป็นหลุมเจาะสำรวจขั้นแรก หลุมเอียง(Deviation Well) หรือหลุมเจาะในแนวราบ (Horizontal Well) มักเป็นการเจาะขั้นประเมินผล และการผลิต ทั้งนี้ขึ้นกับข้อกำหนดทางธรณีวิทยาหรือข้อมูลอื่นๆที่มี และสามารถเจาะได้ทั้งบนบก (Onshore) และในทะเล (Offshore)

การเจาะบนบก มีแท่นเจาะที่ใช้อยู่ 3 ชนิด คือ

Conventional Drilling Rig เป็นแท่นเจาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อุปกรณ์และส่วนประกอบมีขนาดใหญ่ และสามารถเจาะได้ลึกมาก อาจถึง 35,000 ฟุต
Portable Rig เป็นแท่นเจาะที่มีโครงสร้างหอคอย (Derrick) ติดอยู่บนรถบรรทุกขนาดใหญ่ สามารถเคลื่อนย้ายแท่นเจาะได้โดยสะดวก เพราะโครงสร้างหอคอยพับให้เอนราบได้
Standard Rig เป็นแท่นเจาะแบบเก่าแก่ที่สุด โครงสร้างหอคอย (Derrick) จะถูกสร้างคร่อมปากบ่อบริเวณที่จะทำการเจาะ และเมื่อการขุดเจาะแล้วเสร็จ ก็อาจจะถอดแยกหอคอยออกเป็นชิ้นเพื่อนำไปประกอบยังตำแหน่งใหม่หรืออาจทิ้งไว้ในสภาพเดิมหลังจากเริ่มมีการผลิตปิโตรเลียม
สำหรับแท่นเจาะในทะเลนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีส่วนของแท่นเจาะหยั่งลงในพื้นทะเล และแบบที่ลอยตัว โดยยึดติดกับพื้นทะเลด้วยสมอ

แท่นเจาะชนิดหยั่งติดพื้นทะเล ได้แก่
แท่นเจาะแบบ Jack Up ตัวแท่นประกอบด้วยขา 3-5 ขา แต่ละขายาวประมาณ 300-500 ฟุต ช่วยค้ำจุนตัวแท่นติดกับพื้นทะเล สามารถเจาะได้ในน้ำลึกตั้งแต่ 13-350 ฟุต ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศด้วย
แท่นเจาะแบบ Fixed Platform มี 2 แบบคือ แบบ Piled Steel มีโครงสร้างโลหะคล้ายหอคอยที่หยั่งติดพื้นทะเล และแบบ Gravity Structure สร้างด้วยคอนกรีตเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก มีความ มั่นคง แท่นเจาะทั้งสองแบบนี้มักสร้างเป็นแท่นถาวรตั้งอยู่กลางทะเล ใช้เป็นแท่นสำหรับการผลิตหลังจากเจาะหลุมเสร็จสิ้นแล้ว 2. แท่นเจาะชนิดแท่นลอย และยึดติดกับพื้นทะเลด้วยสมอ ได้แก่
แท่นเจาะแบบ Barge มีลักษณะเป็นเรือท้องแบน อุปกรณ์การเจาะติดตั้งอยู่บนตัวเรือ เดิมพัฒนาเพื่อใช้ในการเจาะบริเวณชายฝั่ง น้ำตื้น และบริเวณทะเลสาบ โดยนำเรือเข้าไปยังตำแหน่งแล้วไขน้ำเข้าให้เต็มห้องอับเฉาเพื่อให้เรือจมลงจนท้องเรือติดกับพื้นน้ำ เมื่อเสร็จงานก็สูบน้ำออกเพื่อให้เรือลอยขึ้นและลากจูงไปยังที่อื่นๆ ต่อมาได้มีการพัฒนาและนำไปใช้เจาะนอกชายฝั่งที่ไกลออกไป โดยใช้ตัวเรือเป็นที่พักอาศัย และเก็บอุปกรณ์การเจาะ แต่ย้ายตัวหอคอยขึ้นไปไว้ยังแท่นเจาะกลางทะเล แบบนี้เรียกว่า Barge - Tender
แท่นเจาะแบบ Semi-submersible ลักษณะตัวแท่นและส่วนที่พักอาศัยวางตัวอยู่บนทุ่น/ถังที่สามารถสูบน้ำเข้าออกได้เพื่อให้ตัวแท่นลอยหรือจมตัวลง ใช้เจาะได้ในบริเวณที่น้ำทะเลลึกตั้งแต่ 600 - 1,500 ฟุต เมื่อจะทำการเจาะก็จะลงสมอเพื่อโยงยึดไม่ให้แท่นเคลื่อนที่ การเคลื่อนย้ายจำเป็นต้องอาศัยเรือลากจูงไป
แท่นเจาะแบบ Drillship เป็นเรือเจาะที่มีอุปกรณ์ทุกอย่างอยู่บนตัวเรือ สามารถเคลื่อนที่ได้เอง การยึดตัวเรือให้อยู่กับที่ เดิมใช้สมอเรือ แต่ปัจจุบันได้ประยุกต์ใช้ใบพัดปรับระดับควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ในการปรับตำแหน่ง ข้อเด่นของ Drillship คือ สามารถเจาะได้ในบริเวณที่น้ำทะเลลึก (อาจลึกมากกว่า 1,000 เมตร

แหล่งอ้างอิง http://www2.dmf.go.th/petro_focus/petro_knowledge.asp

แนะรัฐฉวยจังหวะขาลง ตุนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน


บางจากแนะรัฐว่าควรฉวยโอกาสน้ำมันขาลง เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะดีเซล น่าจะเก็บอยู่ที่ 20-30 สตางค์ เพิ่มสภาพคล่องให้กับกองทุนฯอีกทั้งยังมีเงินสำรองใช้ยามจำเป็น
นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจด้านการตลาด บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าช่วงนี้ราคาน้ำมันปรับลดลงกระทรวงพลังงานควรจะใช้จังหวะน้ำมันขาลง พิจารณาเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะกลุ่มดีเซลน่าจะสามารถเก็บได้ อาจจะเก็บประมาณ 20-30 สตางค์ต่อลิตร เพื่อที่จะทำให้ผู้ค้าไม่ต้องแบกรับภาระมากนัก ประกอบกับเป็นการช่วยฐานะการเงินของกองทุนฯสามารถเกิดสภาพคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งพบว่าสถานะของกองทุนน้ำมันฯขณะนี้สภาพคล่องไม่ค่อยดีนัก เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถพยุงกองทุนฯให้เกิดสภาวะเงินหมุนเวียนคล่องตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งทำให้กองทุนฯมีเงินสำรองเพื่อนำมาใช้ในช่วงจังหวะจำเป็น
แหล่งอ้างอิง : หนังสือพิมพ์แนวหน้า สรุปข่าวโลกธุรกิจ
แหล่งปิโตรเลียมภาคเหนือ
ความเป็นมาของแหล่งน้ำมัน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ประมาณก่อนปี พ.ศ.2464 ชาวบ้านท้องที่ อ.ฝาง พบน้ำมันลักษณะสีดำ ไหลซึมขึ้นมาบนผิวดิน บางคนว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธ ิ์ นำมาทาร่างกายรักษาโรคต่างๆ ความทราบถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อเพื่อกักน้ำมันไว้ เรียกว่า “บ่อหลวง” หรือ “บ่อเจ้าหลวง”
ต่อมาหน่วยราชการหลายฝ่ายสนใจทำการสำรวจ และ ดำเนินการติดต่อกันมาหลายสมัย พอสรุปได้ดังนี้

สมัยกรมรถไฟ
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็น ผู้บัญชาการรถไฟ ทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จึงทรงติดต่อว่าจ้าง นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Mr.Wallace Lee มาทำการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2464 - 2465 รวม 2 ปี พร้อมกันนั้นได้ทรงสั่งเครื่องเจาะ และว่าจ้างชาวอิตาเลียน ทำการเจาะบริเวณบ่อหลวง จำนวน 2 หลุม หลุมแรกลึก 216 เมตร การเจาะขัดข้อง พบเพียงร่องรอยแก๊สธรรมชาติ อีกหลุมหนึ่ง อยู่บริเวณใกล้เคียง เจาะลึก 185 เมตร ท่อกรุขาด จึงระงับการเจาะไป

สมัยกรมทาง
กรมทางเข้ามาดำเนินงานในปี พ.ศ.2475 อธิบดีในขณะนั้นคือ ม.ล.กรี เดชาติวงค์ มีวัตถุประสงค์หาปริมาณทรายน้ำมันที่อยู่ใกล้ผิวดิน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกรมทาง ในการใช้แทนยางแอสฟัลต์ การสำรวจใช้เครื่องเจาะสว่านหมุนด้วยแรงคนเรียกว่า เครื่องเจาะบังก้า เจาะลึกประมาณ 10 - 20 เมตร ผลการสำรวจได้ปริมาณทรายน้ำมันประมาณ 3.8 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้นกรมทางยังใช้เครื่องเจาะที่สามารถเจาะได้ 200 เมตร ทำการเจาะอีกหลายหลุม ปรากฏว่าพบน้ำมันในระดับความลึก ประมาณ 70 เมตร เรียกหลุมที่เจาะพบน้ำมันว่า “บ่อระเบิด” กรมทางพยายามผลิตน้ำมันออกมาได้ 40,000 ลิตร พร้อมทั้งสร้างโรงกลั่นทดลองเพื่อกลั่นน้ำมันที่ได้มา แต่เนื่องจากขาดอุปกรณ์ ขาดความชำนาญ รวมทั้งกิจการน้ำมันมิใช่หน้าที่ของกรมทาง งานทั้งหมดจึงต้องยุติลง

สมัยกรมเชื้อเพลิงทหารบก
กรมเชื้อเพลิงทหารบกเริ่มงานสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2480 ด้วยการว่าจ้าง นักธรณีวิทยาชาวสวิส 2 นายคือ Dr.Arnold Heim และ Dr.Hans Hirchi ทำการสำรวจ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย 3 นาย ด้วยการตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาผิวดินและขุดบ่อตื่น ๆ ด้วยแรงคนหลายบ่อ เพื่อหาทิศทางการซึม ของน้ำมันขึ้นมาบนผิวดิน การสำรวจดำเนินไป ประมาณเดือนเศษ จึงได้เลิกล้มไป

สมัยกรมโลหะกิจ
กรมโลหะกิจเข้าดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ.2492 - 2499 โดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า “หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง” ขั้นแรกทำการสำรวจธรณีวิทยาผิวดินและทางอากาศ สำรวจธรณีฟิสิกส์ ปี พ.ศ.2499 สั่งซื้อเครื่องเจาะชนิด Rotary เจาะได้ลึก 1,000 - 1,500 เมตร จากประเทศเยอรมันนี ทำการเจาะพบน้ำมันที่ระดับความลึกประมาณ 230 เมตร บริเวณบ่อต้นขาม ต่อมาเรียกว่า “แหล่งน้ำมันไชยปราการ” ต่อมา ซื้อเครื่องเจาะขนาดเล็ก ชนิดติดตั้งบนรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา ตลอดจน อุปกรณ์ทำหลุมสำเร็จรูป ดำเนินการเจาะทำหลุมสำเร็จรูประดับ 200 - 300 เมตร เป็นบางหลุม ทางด้านการกลั่น ได้สร้างโรงกลั่นทดลองขนาดเล็ก ทำการกลั่นเป็นคราว ใช้น้ำมันดิบประมาณ 1,000 ลิตร ดำเนินการกลั่นในระหว่างปี พ.ศ.2497 - 2499
การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาน้ำมัน อ.ฝาง ในความควบคุมของกรมโลหะกิจนั้น มีคณะกรรมการทำหน้าที่รับผิดชอบอยู่ชุดหนึ่ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการมีความเห็นว่า ในด้านการเจาะน้ำมันนั้น ควรทำการ เจาะสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านการกลั่น ก็มุ่งในการทำแอสฟัลต์
สำหรับพื้นที่อำเภอฝางนั้นเดิมมีโรงกลั่นน้ำมันโรงแรก คือ โรงกลั่นน้ำมันทดลอง ซึ่งออกแบบและสร้างขึ้นโดยนายช่างไทย ของกรมโลหะกิจ และทำพิธีเปิดโรงกลั่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2498 ได้ลงมือทดลองกลั่นในวันนั้น ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ โรงกลั่นทดลองนี้เป็น แบบกลั่นทีละครั้ง กล่าวคือ เมื่อบรรจุน้ำมันดิบเข้าไปในหม้อกลั่นครั้งหนึ่ง ก็ทำการกลั่นไปจนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ แล้วก็ถ่ายเอากากกลั่นในหม้อออก แล้วบรรจุน้ำมันดิบเข้าไปใหม่และทำ การกลั่นครั้งต่อไปอีก

สมัยกรมการพลังงานทหาร
ในปี พ.ศ. 2496 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรจะขยายงานด้านเชื้อเพลิงให้ครอบคลุมไปถึงพลังงานอื่น ๆ ที่จะจัดสรรหา มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติจึงได้ลงมติให้กระทรวงกลาโหม ดำเนินงานขยายกิจการด้านองค์การเชื้อเพลิง ให้ครอบคลุมไปถึงพลังงานอื่น ๆ ด้วย กระทรวงกลาโหมจึงมีคำสั่ง (พ) ที่ 76/27217 เมื่อ 30 ตุลาคม 2496 ตั้งกรมการพลังงานทหาร และ ปรับปรุงขยายกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
เดือนมีนาคม พ.ศ.2499 Dr.Harold Hutton ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียม ได้ไปดูกิจการของ หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง แล้วรายงานว่า น้ำมันดิบที่ฝางเป็นน้ำมันที่ควรกลั่นออกขายได้ และเสนอให้มีการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อตั้งโรงกลั่นขนาด 1,000 บาเรล ถ้าหากมีปริมาณเพียงพอ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี จึงมีมติให้โอน กิจการน้ำมันฝางไปขึ้นกับกรมการพลังงานทหาร เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2499 กิจการปิโตรเลียมเป็นที่สนใจของหน่วยทหารบก เพื่อสำรวจหาน้ำมัน มาสนับสนุนกองทัพ กรมการพลังงานทหารจึงได้ก่อตั้ง กองสำรวจและผลิตวัตถุดิบขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2499 เพื่อรับโอนงานจากกรมโลหะกิจ หลังจากที่ดำเนินการสำรวจ ผลิต และกลั่นน้ำมันที่ฝางได้ระยะหนึ่ง ได้ทำการขยายพื้นที่การสำรวจในลุ่มแอ่งภาคเหนืออีก 5 ลุ่มแอ่ง คือลุ่มแอ่งเชียงใหม่ ลุ่มแอ่งลำปาง ลุ่มแอ่งแพร่ ลุ่มแอ่งเชียงราย และลุ่มแอ่งพะเยา
กรมการพลังงานทหารจึงได้ขออนุมัติจัดสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1,000 บาเรลขึ้น และก็ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี กรมการพลังงานทหารจึงได้ว่าจ้างบริษัท รีไฟนิ่ง แอสโซซิแอต จำกัด เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างในวงเงิน 56 ล้านบาท โดยได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 31 มกราคม 2501 แล้วเสร็จเมื่อ 27 ธันวาคม 2502 ซึ่งในขณะนั้นกรมการพลังงานทหาร มีหน่วยขึ้นตรงที่อำเภอฝาง อยู่ 2 หน่วย คือ กองสำรวจและผลิตวัตถุดิบ และ กองโรงงานกลั่นน้ำมันที่ 1 โรงกลั่นน้ำมันได้ถูกออกแบบไว้ ้เพื่อทำการกลั่นน้ำมันดิบไชยปราการ ซึ่งเป็นน้ำมันดิบชนิดหนัก มีค่าความถ่วง เอพีไอ 16 องศา ประกอบด้วยหน่วยกลั่นต่างๆ ดังนี้
- หน่วยกลั่นบรรยากาศ (TOPPING UNIT)
- หน่วยกลั่นสูญญากาศ (VACUUM INIT)
- หน่วยกลั่นแยกสลาย (THERMAL CRACKING UNIT)
- หน่วยฟอกแก๊สโซลีน (GASOLINE TREATING UNIT)
- หน่วยฟอกน้ำมันหล่อลื่น (LUBE OIL TREATION UNIT)
- หน่วยผสมแก๊สโซลีน(GASOLINE BLENDING UNIT)

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบไชยปราการมีดังนี้
- น้ำมันดีเซลหมุนปานกลาง 8%
- น้ำมันหล่อลื่นเกรดต่างๆ 27%
- น้ำมันแคร๊กแก๊สโซลีน 8%
- น้ำมันเตาหนัก 57%
น้ำมันดิบจากแหล่งไชยปราการมีปริมาณสำรองเพียง 200,000 บาเรลเท่านั้น เมื่อโรงกลั่น ดำเนินการกลั่นเต็มกำลังการผลิต วันละ 1,000 บาเรล สามารถกระทำได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง น้ำมันดิบที่สูบขึ้นมา ก็มีปริมาณลดลง ไม่พอป้อนโรงกลั่น จึงจำเป็นต้องหยุดกลั่นเป็นระยะๆ เพื่อสะสมน้ำมันดิบ

ต่อมาในปี2506 กองสำรวจและผลิตวัตถุดิบได้สำรวจพบน้ำมันดิบแหล่งใหม่ ในบริเวณตำบลแม่สูนหลวง เป็นน้ำมันดิบ ต่างประเภทกับ น้ำมันดิบไชยปราการ มีส่วนผสมของน้ำมันเบาและไขพาราฟีนสูง นับว่าสามารถแก้ปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบของโรงกลั่นไปได้ระยะหนึ่ง แต่โรงกลั่นก็ต้องประสบกับ ปัญหาทางด้านอุปกรณ์การกลั่น ถ้าจะต้องทำการกลั่น น้ำมันดิบแหล่งใหม่ ี้ให้ได้ผล คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของชาติ จะต้องมีการปรับปรุงขบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณ 57 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าได้รับอนุมัติเพียง 34 ล้านบาท กรมการพลังงานทหาร จึงได้ใช้งบประมาณดังกล่าว ดัดแปลงหอกลั่น ให้สามารถกลั่น น้ำมันดิบแม่สูนหลวง ได้เท่าที่ได้รับงบประมาณ

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กรุณาดาวน์โหลดไฟล์googleลงคอมพิวเตอร์ของท่าน